ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ กับโครงสร้างทางประชากรที่เปลี่ยนไป

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

ในปัจจุบันสังคมประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสัดส่วนจำนวนประชากรในวัยทำงานและวัยเด็กได้ลดลง เนื่องจากอัตราการการเกิดและการตายของประชาชนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาทางด้วยวิทยาการต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีอายุที่ยืนยาว และมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น มีความรู้และทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพ ตลอดจนการวงแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ภาวการณ์เจริญพันธุ์และอัตราการเกิดมีแนวโน้มที่ลดลง จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของประชากรที่วัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยองค์การสหประชาชน (UN) ได้ให้นิยามว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10% หรืออายุเกิน 65 ปีขึ้นไป เกิน 7% ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สูงคมผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยบั้นปลายของชีวิต หรือหลายๆคนเรียกกันว่าไม้ใกล้ฝั่ง ดังนั้นจึงมีปัญหาของผู้สูงอายุในทุกด้าน โดยเฉพาะทางด้านสังคมและสาธารณสุขที่แตกต่างกับวันอื่นๆ เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลไทยและทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงมีความพยายามรวมถึงการรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ทุกคนได้ตระหนัก เข้าใจ และพร้อมดูแลผู้สูงอายุให้เท่าเทียมเช่นเดียวกันกับการดูแลประชากรในกลุ่มอายุอื่นๆ

            การดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นเรื่องกังวลใจของหลายๆ คน แต่ความเป็นจริงนั้น หากดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวด้วยความรักและความเข้าใจ การรับมือกับผู้สูงวัยจะกลายเป็นเรื่องง่ายในทันที ดังนั้นจึงขอเสนอวิธีการดูแลผู้สูงอายุอย่างง่าย ดังนี้

วิธีการดูแลผู้สูงอายุ

1. อาหาร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากอวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะระบบย่อยอาหาร รวมถึงปัญหาช่องปากและฟัน ส่งผลให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุจึงควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย อาจใช้การหั่น สับ หรือการปั่นให้อาหารชิ้นเล็ก รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีปรุงเป็นการนึ่ง ตุ๋น หรือ ต้มอาหารให้นิ่ม

2.ออกกำลังกาย อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายช่วยให้อวัยวะในร่างกายแข็งแรงทุกระบบ ตั้งแต่ หัวใจ ปอด ระบบขับถ่าย กระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงสมอง ดังนั้นผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

3.สุขอนามัย ให้ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่ดูแล ลด ละ เลิกสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือการหกล้ม ดูแลควบคุมโรคประจำตัวตามแพทย์แนะนำ และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ

ในปัจจุบันคงเป็นเรื่องที่หลายคนหนักใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเอง เนื่องจากติดภารกิจและหน้าที่การงานที่ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุด้วยตนเองได้ จึงมีการพาผู้สูงอายุไปยังศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อาจจะเป็นแบบประจำหรือชั่วคราว เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลในช่วงที่ทำงาน ดังนั้น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ติดงาน แต่อย่างไรก็ตาม คนในครอบครัวควรที่จะให้ความใส่ใจผู้สูงอายุด้วย